วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

ข้อมูลที่ต้องเตรียม (08/08/2013)

ความรู้ในหลักวิชาทางการเมืองการปกครองและการบริหารราชการแนวใหม่
- การเมืองการปกครอง
- หลักในการปกครองประเทศ
- วิวัฒนาการการปกครองของไทย
- การบริหารภาครัฐแนวใหม่
- การจัดการความรู้กับการบริหารราชการแนวใหม่
- แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2551-2555

ความรู้ทั่วไทยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมปัจจุบันทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ
- รายงานสรุปสภาวะของประเทศ
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฎิบัติราชการ
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
- พระราชบัญญัติระเบียนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 8 พ.ศ. 2553
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
- พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
- ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
- ระเบียบสำนักนายยกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2548
- พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2543
- ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2554
- ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2552
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยงกับกฎหมายทั่วไป กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายแพ่ง และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
- กฎหมายทั่วไป
- กฎหมายอาญา
- กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
- กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ MPLS


แม้จะฟังดูยากและอาจจะออกในแนวเทคนิคไปนิดแต่ Multiprotocol Label Switching (MPLS) สามารถช่วยให้การต่อเชื่อมระหว่างสำนักงานนั้นง่ายขึ้น, มีประสิทธิภาพมากขึ้น, และปลอดภัยมากยิ่งขึ้นเสียจนผู้ใช้บริการหลายต่อหลายคน ร้องขอให้มีการใช้งาน หรือองค์กรของท่าน อาจได้มีการใช้งานอยู่แล้วก็เป็นได้

การให้บริการ MPLS นั้นนับเป็นหัวข้อในลำดับต้นๆ ของผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยเรา ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกในการให้บริการแก่ลูกค้าระดับองค์กร และในทางกลับกันการใช้งาน MPLS ก็เป็นที่สนใจของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งนี้เนื่องจากการใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายของผู้ให้บริการที่เพิ่มขึ้น ก็เท่ากับการลดภาระในการดูแลระบบด้านไอทีภายในองค์กรลง

ถ้าจะลองเปรียบเทียบการทำงานของ MPLS กับการส่งพัสดุ หรือการที่ท่านโหลดกระเป๋าสัมภาระขึ้นเครื่องบินนั้น เราทุกคนต้องการที่จะมั่นใจว่าสัมภาระหรือพัสดุของเรานั้น ถึงที่หมายอย่างปลอดภัย ทันเวลา และอยู่ในสภาพที่ดีครบถ้วนเหมือนตอนที่ส่งไปจากเรา ทั้งนี้โดยมากแล้ว ก็จะมีการติดป้ายหรือสติกเกอร์ลงไปที่กล่องพัสดุ หรือกระเป๋าเราว่า “ห้ามทับ”, “ระวังแตก”, หรือ “ห้ามโยน” ซึ่งจะบอกกับทุกคนว่าต้องทำอย่างไรกับสิ่งของเหล่านั้น

Multiprotocol Label Switching (MPLS) ก็มีการทำงานในรูปแบบเดียวกันกับข้อมูลต่างๆ ที่มีการส่งผ่านไปมาในระบบเครือข่าย โดยจะมีการติดเครื่องหมาย (Label) ให้กับแต่ละหน่วยข้อมูลที่เรียกว่าแพ็คเก็ท (Packet) เพื่อที่จะบอกอุปกรณ์เครือข่าย อย่างเช่นเราเตอร์และสวิสท์ ให้ทำการส่งข้อมูลไปในทิศทาง และรูปแบบที่กำหนดไว้ และสำหรับข้อมูลที่มีความสำคัญมาก ก็จะได้รับการส่งแบบพิเศษกว่าข้อมูลอื่นๆ

ดังที่ได้กล่าวมาในขั้นต้นว่าผู้ให้บริการด้านสื่อสารโทรคมนาคม ต่างก็ให้ความสนใจในการติดตั้งระบบ MPLS ซึ่งจะช่วยเพิ่มรูปแบบการให้บริการแก่ลูกค้า และการที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ต่างให้ความสนใจกับ MPLS นั้นเนื่องจากว่า มันสามารถทำให้ผู้ให้บริการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเดียวที่พวกเขามีอยู่ ในการให้บริการที่หลากหลายแทนที่จะต้อง ลงทุนในการสร้างระบบเครือข่ายที่แยกจากกันหลายๆ ระบบ เพื่อตอบสนองต่อรูปแบบการให้บริการใหม่ๆ และยิ่งไปกว่านั้น ยังช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถเสนอการใช้แอพพิเคชัน และรูปแบบการให้บริการที่มากขึ้นแก่ลูกค้า โดยผ่านโครงสร้างระบบเครือข่ายของผู้ให้บริการทั้งหมดได้ ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนด้านอุปกรณ์สำหรับลูกค้า และเพิ่มมูลค่าให้กับการให้บริการที่หลากหลายยิ่งขึ้น สำหรับผู้ให้บริการเอง

MPLS สามารถให้ประโยชน์กับผู้ใช้งานได้เช่นเดียวกับผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม ยิ่งถ้ามีการเพิ่มมูลค่าให้กับบริการที่ใช้งานอยู่บนเครือข่ายของผู้ให้บริการเพิ่มขึ้น ก็หมายความว่าภาระในการดูแลระบบเครือข่าย ของฝั่งผู้ใช้นั้นก็น้อยลงตามไปด้วย และจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ได้มากยิ่งขึ้น เช่นถ้าผู้ให้บริการสร้างระบบเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (Virtual Private Network, VPN) ที่มีการรับรองคุณภาพในการให้บริการ (Quality of Service) ผ่าน MPLS ในการให้บริการแก่ลูกค้านั้น จะทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในการใช้เครือข่ายในการสื่อสารทั้งภาพ เสียง และข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายเดียวกัน มากกว่าที่จะแยกการสื่อสารผ่านระบบเสียงและข้อมูลที่แยกจากกันเหมือนในอดีต สำหรับการใช้งาน MPLS ในปัจจุบันนั้น โดยมากจะใช้ควบคู่ไปกับเครือข่ายส่วนตัวเสมือน หรือ VPN ซึ่งผู้ใช้บริการที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย จากการเช่าสายวงจรสื่อสารที่เชื่อมต่อระหว่างสำนักงาน ก็สามารถมีทางเลือกใหม่ในการใช้ VPN ที่มีความปลอดภัยในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ หรืออินเทอร์เน็ต ได้โดยที่ MPLS จะเข้ามาช่วยในการ ทำให้ VPN นั้นเป็นเครือข่ายขององค์กร ที่ทำงานอยู่บนระบบเครือข่ายของผู้ให้บริการ แทนที่จะต้องทำงานอยู่บนอุปกรณ์เครือข่ายของผู้ใช้ และด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้ MPLS-based VPN สามารถช่วยให้ลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่ายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีสำนักงานสาขาหลายแห่ง และมีการส่งข้อมูลถึงกันในแต่ละสาขาโดยตรง

ดูเหมือนกับว่า MPLS โดยทางเทคนิคแล้ว จะถูกสร้างมาเพื่อพัฒนา และก่อให้เกิดการใช้งานด้าน VPN ในองค์กรมากยิ่งขึ้น เพราะว่า MPLS-based VPN มีความคล่องตัว และสามารถขยายขนาดได้ง่ายกว่า VPN ชนิดอื่นๆ การสร้างและติด ตั้งการเชื่อมต่อ VPN ไปยังสำนักงานสาขาใหม่โดยใช้ MPLS นั้นมีความง่ายในการติดตั้งมากกว่าเทคโนโลยีอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้งานในองค์กรขนาดใหญ่นอกจากนี้ MPLS ยังสามารถให้บริการผ่านโครงข่าย ATM (Asynchronous Transfer Mode) หรือโครงข่าย Frame Relay ได้ซึ่งทำให้การปรับเปลี่ยนเป็นไปได้อย่างง่ายดาย

การให้บริการ MPLS นั้นค่อนข้างจะเป็นเรื่องใหม่ และแนวโน้มเมื่อมีการให้บริการเพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้อัตราค่าใช้บริการนั้นถูกลงในอนาคต ทั้งนี้เทคโนโลยี MPLS เพิ่งจะถูกใช้งานมาไม่ถึง 4 ปี และมีให้บริการแก่ผู้ใช้ประมาณหนึ่งปีที่ผ่านมานี้เอง โดยเทคโนโลยีนี้สามารถช่วยให้ผู้ใช้บีบอัดและส่งข้อมูลจำนวนมาก เข้าไปในแบนด์วิธ หรือ ช่องสัญญาณที่มีอยู่เดิมได้ ซึ่งส่งผลให้สามารถเลื่อน หรือผลัดผ่อนการขยายช่องสัญญาณ (แบนด์วิธ) ออกไปได้ และเมื่อใช้บริการระบบ MPLS ด้วยแล้ว จะช่วยให้สามารถทำการบริหารจัดการระบบเครือข่าย โดยลดความซับซ้อนลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรที่ทำการบริหารจัดการการเชื่อมต่อ Frame Relay ด้วยตนเองจะยิ่งเห็นประโยชน์ได้อย่างชัดเจน

แนวโน้มในการใช้บริการต่างๆ จากภายนอกองค์กร หรือที่เรียกว่า Outsourcing นั้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อมีการใช้ งาน MPLS เราก็สามารถที่จะ Outsource การดูแลการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายให้กับผู้ให้บริการได้มากยิ่งขึ้น และในบริการด้านโทรคมนาคมต่างๆ นั้น MPLS VPN นับเป็นบริการที่ได้รับความสนใจมากที่สุด โดยเป็นบริการการเชื่อมต่อความเร็วสูง ให้กับผู้ใช้ที่อยู่นอกสำนักงานในระยะไกล ไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างเดินทาง ทำงานจากสำนักงานของบริษัทคู่ค้า หรือจะเป็นการทำงานจากที่บ้าน โดยไม่ขึ้นอยู่กับโครงข่ายของผู้ให้บริการแอสเสสรายใด ขอเพียงแค่สามารถต่อเชื่อมสู่อินเทอร์เน็ตได้เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น DSL อีเทอร์เน็ต ไดอัล-อัพ หรือจะเป็นเคเบิลโมเด็ม

บริษัทและองค์กรควรจะมอง MPLS ในมุมของการใช้งานในภาพรวมของแผนพัฒนาระบบเครือข่าย ทั้งนี้เนื่องจากว่า เทคโนโลยีและแนวโน้มการใช้งานใหม่ๆ อย่างเช่น MPLS, IPv6, ระบบแลนไร้สาย 802.11, และ IP Mobility ล้วนแล้ว แต่ได้รับการพัฒนาโดยหน่วยงานด้านมาตรฐานต่างๆ และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรด้านไอที ต้องเรียนรู้และพัฒนาแผนการดำเนินการ ให้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ได้กล่าวมาด้วยเหตุผลที่ว่า เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้จะมีส่วนอย่างมาก ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาปัตยกรรมเครือข่ายขององค์กร ที่จะมีการใช้งานทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต


INFO: http://www.cisco.com/web/TH/technology/mpls.html

วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

การเมืองการปกครอง

การเมือง
ความหมาย การเมือง (politic) มาจากคำภาษากรีก "polis" แปลว่า "รัฐ" หรือ "ชุมชนทางการเมือง" มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายไว้หลากหลายต่างกัน ขึ้นอยู่กับทัศนะ และความเข้าใจของนักวิชาการแต่ละท่าน

เพลโต (Plato) นักปราชญ์ชาวกรีก ให้ความหมายของการเมืองว่า "เป็นกิจกรรมที่แสวงหาความยุติธรรม และเพื่อการดำรงชีวิตที่ดีของสังคม"

อริสโตเติล (Aristotle) บิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ ให้ความหมายไว้ว่า "การเมือง" หมายถึงการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อสาธารณประโยชน์

ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) กล่าวไว้ว่า "การเมืองเป็นเรื่องของการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม

กิจกรรมที่เรียกว่าการเมืองเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ ดังนี้ 
1. เกี่ยวข้องกับมหาชน มีผลกระทบกับคนจำนวนมาก
2. เกี่ยวข้องกับรัฐ
3. เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ

ขอบข่ายและธรรมชาติของการเมือง
โรเบิร์ต เอ ดาห์ล (Robert A. Dahl) ให้คำอธิบายถึงธรรมชาติของการเมืองไว้ ดังนี้
1. การเมืองเป็นเรื่องที่ต้องสัมพันธ์กับเรื่องอื่นๆ ในสังคม
2. การเมืองเป็นกิจกรรมหนึ่งของมนุษย์ในสังคมที่ไม่อาจหลีกหนีได้
3. การเมืองเป็นเรื่องของการปกครอง กลุ่มอำนาจการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ

ความสำคัญของการเมือง
1. การเมืองเป็นวิถีชีวิตแบบหนึ่งของมนุษย์ในรัฐ
2. มนุษย์ภายในรัฐไม่อาจหลีกหนีให้พ้นจากผลกระทบทางการเมืองได้
3. กิจกรรมทางการเมือง จะนำไปสู่การใช้อำนาจทางการเมือง การปกครองเพื่อออกกฎหมายพัฒนาประเทศ รวมทั้งการแก้ปัญหาของประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับเศรษฐกิจและสังคมไทย
1. ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับเศรษฐกิจ
 การเมืองเป็นแบบแผนของความสัมพันธืระหว่างมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจการปกครอง และการใช้อำนาจและเศรษฐกิจเป็นเรื่องของการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจกทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้แก่สาธารณชนเพื่อความสมบูรณ์พูนสุขแก่ส่วมรวม นักเศรษฐศาสตร์ยอมรับว่าความเจริญทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อระบอบการเมืองของแต่ละสังคมเป็นอย่างยิ่ง อริสโตเติลมีความเห็นว่า เสถียรภาพทางการเมืองขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจมาก และได้เสนอรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดคือ รูปแบบที่เรียกว่า "มัชฌิมวิถีอธิปไตย" หรือ "Polity" คือรูปแบบการปกครองที่มีชนชั้นกลางอยู่ในสังคมจำนวนมาก เศรษฐกิจกับการเมืองเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก คือ ทั้งการเมืองและเศรษฐกิจต่างก็มีอิทธิพลต่อกันดังนี้
(1) เศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อการเมือง ดังเช่นทัศนะของอริสโตเติล ที่กล่าวถึงสภาวะทางการเมืองซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจ ดังกล่าวมาแล้วในเรื่องของมัชฌิมวิถีอธิปไตย (Polity)
(2) การเมืองมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจ คือ นโยบายทางการเมืองย่อมมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ดังจะเห็นได้จากแนวนโยบาย หรืออุดมการณ์ของผู้ที่มีอำนาจปกครองนำมาใช้อยู่ 2 แนวทางกว้างๆ คือ แนวแรก ได้แก่ การปล่อยเสรี (Laissez-faire) กับแนวที่สอง คือ อยู่ใต้การควบคุมดูแลโดยรัฐ

 2. การเมืองกับสังคม
มนุษย์เป็นสมาชิกของสังคม กิจกรรมหรือความสัมพันธ์ของมนุษย์ การรวมกลุ่มของมนุษย์ทั้งหมดถือเป็นกิจกรรมทางสังคม และถือเป็นหลักธรรมดาที่ในสังคมมนุษย์จะต้องมีความขัดแย้งเกิดขึ้นเสมอ ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นเพราะการฉกฉวยแย่งชิงสิ่งที่มีคุณค่าของสังคม ในระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง และเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ในทัศนะตรงกันข้าม การเมืองไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความขัดแย้งเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะเป็นไปในรูปของความร่วมมือสมานฉันท์สร้างสรรค์สังคมกันไว้ได้ กล่าวคือประชาชนบรรลุเป้าหมายนั้นด้วยดี การเมืองมีความสัมพันธ์กันกับการควบคุมและการระงับความขัดแย้งภายในสังคม การกำหนดเป้าหมายร่วมกันและการดำเนินการต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งเป็นส่วนรวมหรือที่เรียกว่า "กิจกรรมสาธารณะ" (Public Affair)

รัฐ ชาติ ประเทศ
ความหมายของรัฐ ชาติ ประเทศ
"รัฐ" หมายถึง ชุมชนทางการเมืองของมนุษย์ อันประกอบด้วยดินแดนที่มีขอบเขตแน่นอน มีประชากรอาศัยอยู่ในจำนวนที่เหมาะสม โดยมีรัฐบาลปกครองและมีอำนาจอธิปไตยของตัวเอง

"ชาติ" หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางวัฒนธรรม และมีความผูกพันกันในทางสายโลหิต เผ่าพันธุ์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนมีประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน หรือมีวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองร่วมกัน เช่นคำว่า "ชาติไทย"

"ประเทศ" ความหมายกว้าง หมายรวมถึงดินแดนที่มีฐานะเป็นรัฐหรือไม่มีฐานะเป็นรัฐ แต่โดยสรุปแล้ว คำว่า "ประเทศ" ตามกฎหมายระหว่างประเทศ หมายถึง ดินแดน อาณาเขต และสภาพภูมิศาสตร์ เป็นต้นว่าความอุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศ แม่น้ำภูเขา ทะเล ป่าไม้ ฯลฯ เช่น ประเทศไทย

องค์ประกอบของรัฐ
1. ประชากร (Population) หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐถือว่า มีฐานะเป็นส่วนของรัฐโดยอัตโนมัติ สิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับประชากร ก็คือ
 (1) จำนวนประชากรแต่ละรัฐมีประชากรจำนวนเท่าใด ไม่มีการกำหนดที่แน่นอนแต่ควรจะมีมากพอ ที่จะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองได้
(2) ลักษณะของประชากร หมายถึง ลักษณะทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เพราะมีหลายรัฐที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม
(3) คุณภาพของประชากร ขึ้นอยู่กับการศึกษา สุขภาพ อนามัย ทัศนะคติ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการพัฒนาทุกรูปแบบ

2. ดินแดน (Teritory) มีข้อสังเกต ดังนี้
(1) ที่ตั้ง ดินแดนของรัฐ หมายถึง อาณาเขตพื้นดิน น่านน้ำ อาณาเขตในท้องทะเล น่านฟ้า บริเวณใต้พื้นดิน พื้นน้ำ และพื้นทะเล
(2) ขนาดของดินแดน ไม่มีหลักเกณฑ์ไว้แน่นอนตายตัวว่า จะต้องมีขนาดเท่าใด จึงจะถือว่าเป็นรัฐ แต่ควรจะมีความเหมาะสมกับจำนวนประชากรด้วย

3. รัฐบาล (Government) คือ องค์กร หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกครอง และบริหารภายในโดยเป็นผู้กำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฎิบัติ เพื่อจัดระเบียบทางสังคมและดำเนินทุกอย่างเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ รัฐบาลจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองรัฐ

4. อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) เป็นองค์ประกอบประการสุดท้ายที่สำคัญของรัฐ อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ อำนาจอธิปไตยมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
(1) อำนาจอธิปไตยภายใน (Internal Sovereignty) หมายถึง การที่มีอำนาจที่จะปกครองตนเอง และมีอำนาจสูงสุดที่จะดำเนินการใดๆ ในประเทศอย่างมีอิสระ ปราศจากการควบคุมจากรัฐอื่น
(2) อำนาจอธิปไรยภายนอก (External Sovereignty) หมายถึง การมีอิสระมีเอกราช สามารถจะดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ หรือกล่าวกันอีกอย่างหนึ่งว่า เอกราช ก็คืออำนาจอธิปไตยภายนอกนั้นเอง

องค์ประกอบของรัฐทั้ง 4 ประการนี้ มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ถ้ารัฐใดขาดองค์ประกอบในข้อหนึ่งแม้เพียงองค์ประกอบเดียวก็ตาม ถือว่าขาดคุณสมบัติของความเป็นรัฐโดยสิ้นเชิง

จุดประสงค์ของรัฐ
1.สร้างความเป็นระเบียบ
2.การส่งเสริมสวัสดิภาพแก่ประชาชน
3.การส่งเสริมสวัสดิการแก่ส่วนรวม
4.การส่งเสริมคุณธรรม

หน้าที่ของรัฐ
1.การรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงภายใน
2.การให้บริการและสวัสดิการทางสังคม
3.การพัฒนาประเทศ
4.การป้องกันการรุกรานจากภายนอก

 รูปแบบของรัฐ (Forms of State)
1. รัฐเดี่ยว (Unitary State) คือ รัฐที่มีรัฐบาลกลางเป็นผู้มีอำนาจปกครอง และอำนาจบริหารสูงสุดเพียงองค์กรเดียว รัฐบาลกลางเป็นผู้ที่ใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 อำนาจ คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ รัฐบาลเป็นองค์กรกลางองค์กรเดียวของรัฐที่ปกครองประชาชนได้โดยตลอด รวมถึงการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศด้วย ตัวอย่างรัฐเดี่ยว ได้แก่ อังกฤษ ญี่ปุ่น และไทย เป็นต้น

2. รัฐรวม (Composit State) ได้แก่ การรวมตัวกันของรัฐ ตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไป โดยมีรัฐบาลเดียวกัน ซึ่งแต่ละรัฐยังคงมีสภาพเป็นรัฐอยู่เช่นเดิม แต่การใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐ ที่มารวมกันอาจถูกจำกัดลงไปตามข้อตกลงที่ทำขึ้น รัฐรวมมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ
(1) สหพันธรัฐ (Federal State) สหพันธรัฐ คือ รัฐที่่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่างรัฐต่างๆ ตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไปโดยใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดียวกันร่วมกัน และความสัมพันธ์เป็น 2 ระดับ คือ มีรัฐบาลกลางของสหพันธรัฐ และรัฐบาลท้องถิ่นเป็นของแต่ละรัฐ ซึ่งเรียกกันว่า "มลรัฐ" ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย มาเลเซีย
(2) สมาพันธรัฐ (Confederation State) สมาพันธรัฐเป็นการรวมตัวกัน ระหว่าง 2 รัฐขึ้นไปโดยไม่มีรัฐธรรมนูญ หรือรัฐบาลร่วมกัน แต่เป็นการรวมตัวกัน อย่างหลวมๆ เพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการชั่วคราวและเป็นบางกรณีเท่านั้น เช่น การเป็นพันธมิตรกันเพื่อทำสงครามร่วมกัน เป็นต้น ในปัจจุบันนี้รูปแบบของรัฐแบบสมาพันธรัฐ ไม่มีอีกแล้วแต่จะกลายเป็นลักษณะของการรวมตัวกันในรูปขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การนาโต้ องค์การอาเซียน เป็นต้น

ระบอบการเมืองการปกครองที่สำคัญ
ระบอบประชาธิปไตย
เป็นระบอบการปกครองที่มีหลักการ และความมุ่งหมายที่ผูกพันอยู่กับประชาชนโดยประชาชน และเพื่อประชาชน ระบอบประชาธิปไตย แบ่งออกเป้น 2 แบบ คือ แบบที่มี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข กับแบบที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข แบบแรก คือแบบที่ใช้อยู่ในประเทศอังกฤษ ญี่ปุ่น และไทย แบบที่ 2 คือแบบที่ใช้อยู่ในประเทศอินเดีย ฝรั่งเศล และอเมริกา

หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย มีดังต่อไปนี้คือ
1. อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจสูงสุดสในการปกครองประเทศ หรือเรียกว่าอำนาจของรัฐ (State Power) เป็นอำนาจหน้าที่มาจากประชาชน และผู้ที่จะได้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ

2. ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจการปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกันเอง โดยการออกเสียงเลือกตั้งบุคคลกลุ่มหนึ่งขึ้นมาเป็นผู้บริหารประเทศ ตามระยะเวลาและวิธีการที่กำหนดไว้ เช่น ทุก 4 ปี จะมีการออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนของประชาชนพร้องกันทั่วประเทศ

3. รัฐบาล จะต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพมูลฐานของประชาชน เช่น สิทธิเสรีภาพในทรัพย์สิน และการแสดงวความคิดเห็น การรวมกลุ่ม เป็นต้น โดยรัฐบาลจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเหล่านี้ เว้นแต่เพื่อรักษาความมั่งคงของชาติ หรือเพื่อสร้างสรรค์ ความเป็นธรรมแก่สังคมเท่านั้น

4. ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสมอภาคกัน ในการที่จะได้รับบริการทุกชนิดที่รัฐจัดให้แก่ประชาชน

5. รัฐบาลถือกฎหมายและความเป็นธรรมเป็นบรรทัดฐาน ในการปกครองและในการแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ เพื่อความสงบสุขของประชาชน

ระบอบเผด็จการ
ระบอบเผด็จการ คือ ระบอบการเมืองการปกครองที่โอกาสในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ตกลงใจถูกจำกัดอยู่ในบุุคคลเพียงคนเดียวหรือสองสามคน กล่าวคือ จะใช้โอกาสในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ โดยใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ปิดกั้นการแสดงออกของประชาชน หากประชาชนคัดค้านก็จะถูกผู้นำหรือคณะบุคคลลงโทษ

หลักการสำคัญของระบอบเผด็จการ มีดัวนี้
1.ผู้นำคนเดียว หรือคณะผู้นำของกองทัพ หรือของพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว กลุ่มเดียว มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง สามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ฟังเสียงคนส่วนใหญ่ของประเทศ

2.การรักษาความมั่นคงของผู้นำหรือคณะผู้นำ มีความสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประชาชนไม่สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำได้เลย

3.ผู้นำหรือคณะผู้นำ สามารถจะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิต ตราบเท่าที่กลุ่มผู้ร่วมงานหรือกองทัพยังให้ความสนับสนุนอยู่ ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนผู้นำได้โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ

4.รัฐธรรมนูญ หรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครองเหมือนในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นแต่เพียงรากฐานรองรับอำนาจของผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้น ไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง

ระบบเผด็จการมี 3 แบบ คือ เผด็จการทหาร เผด็จการฟาสซิสต์ และเผด็จการคอมมิวนิสต์